โรคกล้าเน่า-เน่าคอดินหรือเน่าระดับดิน : DAMPING - OFF DISEASE

Bootstrap template

เชื้อสาเหตุ : รา Pythium periilum Drechsler

ชีววิทยาของเชื้อ : รา Pythium มีเส้นใยที่ไม่มีผนังกั้น สร้างสปอร์ที่เกิดจากการผสมพันธุ์ทางเพศ มีผนังหนาและสปอร์ที่เกิดแบบไม่ผสมพันธุ์ทางเพศ เป็นสปอร์รูปร่างต่างๆ กัน สำหรับรา P. periilum Drechsler สาเหตุโรคกล้าเน่ามะเขือเทศที่รายงานนี้มีรูปร่างสปอร์เป็นเส้นยาว สปอร์งอกเส้นใย 1-2 วัน หรืออาจสร้างสปอร์มีหางว่ายน้ำได้ ภายในถุงที่แยกออกมาจากสปอร์ ราพวกนี้ส่วนมากผสมทางเพศ ด้วยตัวของมันเอง เกิด oospores อยู่ภายในเนื้อเยื่อของพืชที่มันเข้าทำลาย หรือบนอาหารสังเคราะห์ เลี้ยงเชื้อบางชนิด บางครั้งพบสปอร์ผนังหนา รูปร่างกลม

ลักษณะอาการ : ราเข้าทำลายเมล็ดก่อนเมล็ดพืชงอก เมล็ดมีลักษณะอาการเน่าทั้งที่ยังไม่งอกหรือ งอกอยู่ในดิน ซึ่งทำให้สังเกตได้ยาก แต่หากเมล็ดงอกโผล่จากดินแล้วเจริญเป็นต้นกล้า ราเข้าทำลายที่ระดับดิน โคนต้นกล้าเกิดอาการฉ่ำน้ำ ทำต้นกล้าล้มพับอยู่เหนือดิน ใบเลี้ยงยังคงเขียว ไม่มีอาการเหี่ยว หาก สภาพแวดล้อมเหมาะสมกับการเจริญของรา ความชื้นสูง ทำให้ต้นกล้าเน่าเป็นหย่อมๆ ในแปลงกล้าหรือใน กระบะเพาะกล้า

การแพร่ระบาด : รา Pythium เป็นพวกเกิดและอาศัยอยู่ในดิน ทำให้มันเข้าทำลายต้นกล้าพืช ได้ทั้งก่อน และหลังการงอกของเมล็ดพืชในดิน การระบาดทำลายต้นกล้าได้รวดเร็ว ขึ้นอยู่กับชนิดและ สภาพแวดล้อม

การป้องกันกำจัด :

1. การเตรียมแปลงเพาะควรย่อยดินให้ละเอียดและให้ถูกแดดจัดๆ นานพอสมควร ก่อนการหว่านเมล็ด ใช้เมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพสูง คลุกด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชเมทาแลกซิลเพื่อควบคุมรา ที่อาจติดมากับเมล็ดและป้องกันการเข้าทำลายจากราที่อยู่ในดิน ไม่เพาะกล้าแน่นเกินไป ให้อากาศภายใน เรือนเพาะชำมีการถ่ายเทได้สะดวก ไม่ควรรดน้ำในแปลงกล้ามากเกินไป แปลงกล้าควรมีการระบายน้ำได้ดี หากพบว่ามีโรคเกิดขึ้นในแปลงเพาะชำ ให้รีบควบคุมราด้วยสารเมทาแลกซิลหรือแคปแทนทันที แล้วรวมรวบ ต้นกล้าที่เป็นโรคออกจากโรงเรือน นำไปเผาทิ้งทำลาย