โรครากเน่าโคนเน่า : PHYTOPHTHORA BLIGHT DISEASE

Bootstrap template

เชื้อสาเหตุ : รา Phytophthora capsici

ชีววิทยาของเชื้อ : ราเจริญดีบนอาหารเลี้ยงเชื้อ ผิวผนังเส้นใยเรียบ สร้างสปอร์จำนวนมาก รูปร่าง แตกต่างกันหลายแบบ เป็นรูปไข่หรือรูปค่อนข้างยาว ขนาดแตกต่างกัน เมื่อสปอร์มีอายุมากขึ้นจะหลุดออกจาก ก้านชูสปอร์ได้ง่าย โดยมีก้านสปอร์ยาวติดอยู่ ด้านบนของสปอร์มีส่วนเปิดเด่นชัด สำหรับเป็นทางออกของ สปอร์ที่มีหางและว่ายน้ำได้

ลักษณะอาการ : เชื้อเข้าทำลายพริกหวานได้ตั้งแต่ระยะกล้า ทำให้เกิดโรคเน่าคอดิน และทำให้เกิด อาการเหี่ยวในระยะกำลังออกผล อาจเหี่ยวตายทั้งต้น ลำต้นที่ถูกทำลายแสดงอาการเหี่ยว ผลมีลักษณะฉ่ำน้ำ เนื้อผลเป็นสีเข้มดำ หากเกิดรุนแรง เชื้อเข้าทำลายเมล็ดได้ด้วย รากและโคนต้นถูกทำลาย เกิดอาการเน่า เป็น แผลสีน้ำตาลดำขยายลุกลามขึ้นไปตามลำต้น เมื่อผ่าดูลำต้นตามยาวบริเวณโคนที่เน่า พบว่าเนื้อเยื่อของ ลำต้นเป็นสีน้ำตาล เกิดการเน่าแต่ไม่มีกลิ่น

การแพร่ระบาด : ราอยู่รอดนอกฤดูในดินและเศษซากพืช ด้วยสปอร์ผนังหนา จำนวนมาก อยู่ในดิน ได้นาน 4-6 ปี หรืออาศัยบนเมล็ดของพริกที่เป็นโรคได้นานมากกว่า 1 ปี พบเกิดขึ้นในสภาพแวดล้อม ที่มีอุณหภูมิและความชื้นสูง หากอากาศเย็นการระบาดของโรคค่อนข้างช้าลง การใช้กล้าที่เป็นโรคปลูก จะเกิด อาการรากเน่าตามมาทันที หรืออาจเกิดภายหลังไม่นาน อุณหภูมิสูงกว่า 20 องศาเซลเซียส ความชื้นสูง และฝนตกชุก เป็นสภาพที่ทำให้เกิดการระบาดของโรคได้ดี หากดินมีน้ำขัง ความชื้นสูง ทำให้โรคมีความ รุนแรงยิ่งขึ้น

การป้องกันกำจัด :

 การให้น้ำโดยระบบน้ำหยด ลดการแพร่ระบาดของเชื้อได้ดีกว่าการให้น้ำแบบพ่นฝอย เก็บเศษซาก พริกที่เป็นโรคเผาทำลาย ไม่ให้เป็นแหล่งสะสมเชื้อและแหล่งแพร่ระบาดโรค รักษาความสะอาดเรือนเพาะชำ ดินหรือวัสดุปลูกควรปลอดจากรา ทำความสะอาดเครื่องมือการเกษตรด้วยสารเคมีควบคุมรา หรือแอลกอฮอลล์ 95 เปอร์เซ็นต์ รักษาความสะอาดแปลงปลูกโดยการเก็บรวบรวมทำลายเศษซากพืช ใบ ผล กิ่งที่เป็นโรค เผา หรือฝัง เพื่อลดปริมาณประชากรของราที่อาศัยนอกฤดูที่อาจเป็นแหล่งกำเนิดของโรคในฤดูต่อไปได้ ปลูก ด้วยเมล็ดพันธุ์ที่สะอาด ควรคลุกเมล็ดก่อนปลูกด้วยใช้สารป้องกันกำจัดเชื้อราเมทาเลซิล ป้องกันการเกิด โรคให้ผลดีกว่าการกำจัด