โรครากปม : ROOT GALL DISEASE

Bootstrap template

เชื้อสาเหตุ : ไส้เดือนฝอย Meloidogyne incognita และ M. javanica

ชีววิทยาของเชื้อ : ตัวอ่อนระยะที่ 2 ของไส้เดือนฝอยที่แพร่กระจายอยู่ในดินปลูกพืช เจาะไชเข้าสู่ราก พริกบริเวณปลายราก เคลื่อนที่ต่อไปยังท่อน้ำท่ออาหารของพืชและหยุดนิ่ง จากนั้นเริ่มดูดกินน้ำเลี้ยงของพืช และมีการเจริญเติบโตด้วยวิธีการลอกคราบและพัฒนาไปเป็นตัวเต็มวัยมีทั้งเพศผู้และเพศเมีย เพศเมีย สามารถสร้างไข่ที่มีลักษณะเป็นกลุ่ม ประกอบด้วยไข่จำนวน 400-500 ฟอง ไข่ฟักเป็นตัวอ่อนเข้าทำลาย รากพืชต่อเนื่อง รวมวงจรชีวิตจากตัวอ่อนระยะที่ 2 ถึงตัวอ่อนระยะที่ 2 อีกรุ่น ใช้เวลาเพียง 3-4 สัปดาห์เท่านั้น

ลักษณะอาการ : เมื่อถอนต้นพริกจะพบระบบรากเป็นปุ่มปม สาเหตุจากไส้เดือนฝอยดูดกินน้ำเลี้ยง ของพืชบริเวณท่อน้ำ-ท่ออาหาร มีผลทำให้เซลล์ของพืชบริเวณที่ถูกทำลายแบ่งตัวผิดปกติ เกิดเป็นเซลล์ ขนาดใหญ่ ไปปิดกั้นทางเดินน้ำและแร่ธาตุอาหารจากรากไปเลี้ยงลำต้นส่วนเหนือดิน ทำให้พริกแสดงอาการ เหี่ยวเฉา ต้นแคระแกร็น และทรุดโทรมหรือแห้งตายในที่สุด

การแพร่ระบาด : ไส้เดือนฝอยสามารถแพร่ระบาดได้ดีในเนื้อดินชนิดร่วนปนทราย ไปกับระบบการ ให้น้ำ หรือไหลไปกับน้ำฝน รวมทั้งติดไปกับดินเพาะกล้าพริกและติดไปกับเครื่องมือเกษตรต่างๆ เช่น ล้อรถไถ ดินที่ติดไปกับรองเท้าของเกษตรกร และเครื่องมือเกษตรอื่นๆ

การป้องกันกำจัด :

1. ควรปลูกพืชที่ไม่ใช่พืชอาหารของไส้เดือนฝอยหมุนเวียนสลับกับพริก 1-2 ฤดูปลูก เพื่อลด ประชากรของเชื้อในดินและตัดวงจรชีวิตของไส้เดือนฝอย พืชที่สามารถนำมาปลูกสลับ ได้แก่ ปอเทือง ถั่วลิสง และดาวเรือง

2. ใช้กล้าพริกสะอาดปราศจากปุ่มปมที่ระบบราก

3. เมื่อพบระบบรากของต้นพริกในแปลงปลูกมีปุ่มปม ให้ถอนและเผาทิ้งนอกแปลงปลูก

4. ควรระมัดระวังการแพร่ระบาดจากแปลงหนึ่งสู่แปลงอื่นๆ โดยไส้เดือนฝอยสามารถติด ไปกับดินหรือไหลไปกับระบบการให้น้ำหรือไปกับน้ำฝนได้