โรคใบไหม้แผลใหญ่ : NORTHERN CORN LEAF BLIGHT DISEASE

Bootstrap template

เชื้อสาเหตุ : รา Exserohilum turcicum

ชีววิทยาของเชื้อ : สปอร์มีสีเขียวอมเทา ยาวเรียวหัวท้ายแหลม ส่วนกลางกว้าง โค้งเล็กน้อย มีผนังกั้น 3-8 เซลล์ ฐานสปอร์มีสีเข้ม การงอกออกที่ปลายทั้งสองข้างของสปอร์ ก้านชูสปอร์สีเขียวมะกอกมีผนังกั้น 2-4 เซลล์

ลักษณะอาการ : อาการเริ่มแรกพบแผลขนาดเล็กสีคล้ายฟ่างข้าวบนใบข้าวโพดต่อมาแผลจะขยาย มี ขนาดใหญ่สีเทาหรือสีน้ำตาลอ่อน ยาวตามใบข้าวโพดหัวท้ายเรียวคล้ายรูปกระสวยเมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสม จะพบอาการแผลบนใบข้าวโพดหลายแผลต่อใบและแผลขยายรวมกันมากๆ ทำให้ใบข้าวโพดแห้งตาย และ สามารถพบอาการของแผลได้บนกาบฝัก ข้าวโพดที่เป็นโรครุนแรงจะทำให้ฝักไม่สมบูรณ์

การแพร่ระบาด : เชื้อราจะสร้างสปอร์บนแผลเก่าๆ เชื้อจะสร้างสปอร์จำนวนมากในสภาพความชื้นสูง และมีอุณหภูมิระหว่าง 18-27 องศาเซลเซียส สปอร์จะแพร่ไปโดยลม และฝน เมื่อมีความชื้นสปอร์จะงอก เข้าทำลายใบข้าวโพดและแสดงอาการของโรคในส่วนอื่นๆต่อไป เชื้อราสามารถอยู่ข้ามฤดูได้ในเศษซากพืช

การป้องกันกำจัด :

1. การปลูกพืชหมุนเวียน เผาทำลายเศษซากพืชเป็นโรค

2. การเขตกรรมที่เหมาะสม ไม่ปลูกพืชหนาแน่นและใส่ปุ๋ย ไนโตรเจนปริมาณสูง

3. ใช้พันธุ์ต้านทานต่อโรค

4. หมั่นตรวจไร่อยู่เสมอ ตั้งแต่ระยะกล้า เมื่อพบโรคในระยะเริ่มแรก ให้พ่นด้วยสารป้องกันกำจัด โรคพืชชนิดใดชนิดหนึ่งดังต่อไปนี้

    โพรพิโคนาโซล อัตรา 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือคาร์เบนดาซิม + อีพอกซี่โคนาโซล อัตรา 25 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือโพรพิโคนาโซล + ไดฟีโนโคนาโซล อัตรา 5 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตรการพ่นด้วยสารกำจัด โรคพืชให้พ่น 3 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน 7 วัน ไม่ควรใช้สารชนิดเดียวกันเกิน 3 ครั้ง เพราะจะทำให้เชื้อสาเหตุ เกิดการดื้อต่อสารป้องกันกำจัด