โรคใบด่างผักกาด : TURNIP MOSAIC DISEASE

Bootstrap template

เชื้อสาเหตุ : ไวรัสใบด่างผักกาด (Turnip mosaic virus, TuMV )

ชีววิทยาของเชื้อ : อนุภาคเป็นท่อนยาวคด มีความยาวประมาณ 700-750 นาโนเมตร จัดอยู่ในสกุล โพทีไวรัส (Potyvirus)

ลักษณะอาการ : ผักกาดกวางตุ้งแสดงอาการใบด่างเขียวอ่อนสลับเขียวเข้ม หรือใบด่างเหลือง ถ้าเป็น รุนแรงเนื้อใบขรุขระเป็นคลื่นโดยเฉพาะใบยอด บิดเบี้ยวผิดรูปร่าง และต้นแคระแกร็น ในกะหล่ำปลี อาจมีรอยขีดหรือจุดแผลแห้ง ผักกาดเขียวปลีและผักกาดขาวปลีที่ถูกไวรัสเข้าทำลายในขณะที่อายุน้อย จะไม่ห่อหัว แต่จะแทงช่อดอกก่อนถึงเวลาออกดอกตามปกติ

การแพร่ระบาด : ไวรัสแพร่ระบาดโดยวิธีกลและมีเพลี้ยอ่อนหลายชนิดเป็นพาหะนำโรค เช่น เพลี้ยอ่อน ยาสูบ (Myzus persicae) เพลี้ยอ่อนฝ้าย (Aphis gossypii) และเพลี้ยอ่อนถั่ว (A. craccivora) ไวรัส ไม่ถ่ายทอดผ่านทางเมล็ดพันธุ์ พืชอาศัยส่วนใหญ่อยู่ในตระกูลกล่ำ ถั่วฝักยาว พริกชี้ฟ้า ยาสูบ และ วัชพืชบางชนิด เช่น โทงเทง

การป้องกันกำจัด :

1. ใช้พันธุ์ต้านทานโรค เช่น ผักกาดสายพันธุ์ AVRDC Acc.730 ต้านทานต่อโรคนี้

2. ระวังไม่ให้เกิดโรคระบาดในระยะกล้า โดยการฉีดพ่นด้วยสารกำจัดแมลง

3. ขุดต้นเป็นโรคออกเผาทำลายทันทีที่พบ

4. กำจัดวัชพืชที่เป็นพืชอาศัยของเชื้อทั้งในและรอบแปลงปลูก