โรคใบหงิกเหลือง : YELLOW LEAF CURL DISEASE

Bootstrap template

เชื้อสาเหตุ : ไวรัสใบหงิกเหลืองพริก (Pepper yellow leaf curl virus, PeYLCV) บางไอโซเลท เกิดจากไวรัสใบหงิกเหลืองมะเขือเทศ (Tomato yellow leaf curl virus, TYLCV)

ชีววิทยาของเชื้อ : อนุภาคเป็นรูปทรงกลมหลายเหลี่ยม อยู่ติดกันเป็นคู่ ขนาดประมาณ 18x30 นาโนเมตร จัดอยู่ในสกุลบีโกโมไวรัส (Begomovirus)

ลักษณะอาการ : ใบพริกแสดงอาการด่างเหลือง เป็นขีดหรือหย่อมโปร่งแสงระหว่างเส้นใบ บางครั้ง เส้นใบย่อยมีสีเหลืองและสานเป็นร่างแหบริเวณโคนใบ ใบโค้งงอ หงิกย่น บิดเบี้ยว ยอดเป็นกระจุก ต้นแคระแกร็น ผลด่างบิดเบี้ยวและมีขนาดเล็กผิดปกติ ถ้าเป็นพริกขาวแสดงอาการด่างเป็นสีขาวซีด

การแพร่ระบาด : พบระบาดรุนแรงในฤดูแล้ง โดยมีแมลงหวี่ขาวยาสูบ (Bemisia tabaci) เป็นพาหะ นำโรค พืชอาศัยที่สำคัญ ได้แก่ ยาสูบ มะเขือเทศ กระเจี๊ยบมอญ กระเจี๊ยบเขียว และวัชพืชหลายชนิด เช่น ไม้กวาด กะเม็ง ครอบจักรวาล หญ้ายาง กระทกรก ผักแครด พันงูเขียว มะเขือยักษ์ และ สาบแร้งสาบกา โรคนี้ไม่ถ่ายทอดโดยวิธีกลและผ่านทางเมล็ด

การป้องกันกำจัด :

1. พ่นสารฆ่าแมลงใต้ใบเมื่อพบแมลงหวี่ขาวระบาดมาก เช่น อิมิดาโคลพริด หรือไตรอะโซฟอส 40% อีซี หรือคาร์โบซัลแฟน หรือปิโตรเลียมออยล์ โดยพ่น 2-3 ครั้ง ห่างกัน 7-10 วัน และไม่ควรพ่น สารฆ่าแมลงชนิดใดชนิดหนึ่งติดต่อกันหลายครั้ง

2. ขุดต้นพริกเป็นโรคและนำมาเผาทำลาย

3. กำจัดวัชพืชที่เป็นพืชอาศัย และเป็นแหล่งสะสมของไวรัส

4. ไม่ปลูกพืชหมุนเวียนที่เป็นพืชอาศัยของเชื้อ